วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โมเดลปลาทู


โมเดลปลาทู

สรุปเนื้อหาการเรียนวิชานวัตกรรมและสารสนเทศครั้งที่ 3-การุญ ปัญจะสุวรรณ์

สรุปองค์ความรู้ สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552
นายการุญ ปัญจะสุวรรณ์
รหัส 5246701070
ป.บัณฑิต การบริหารการศึกษา ภาคเรียนที่ 2/2552
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

บทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์
การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้เน้นหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของกระบวนวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล (Impact of People Management Practice) และความทุ่มเทพยายามของคนต่อความสำเร็จขององค์กร มืออาชีพหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลหมดความสำคัญ และอาจจะไม่จำเป็นต้องทำไป แต่อย่างไรหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่ต้องทำอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และต้องมีการปรับบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป


ข้อมูล DATA
- ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล
- กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
สารสนเทศ (Information )
- ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
- ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ (Knowledge)
ผลการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบ สร้างเป็นองค์ความรู้ความเฉลียวฉลาด (Wisdom)
การนำเอาความรู้ต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่างๆเชาว์ปัญญา (Intelligent) ผลการปรับแต่งและความจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไว
รูปแบบการจัดการความรู้ ความรู้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ
- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ
วิธีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
KM ไม่ทำไม่รู้ เรียนลัดและต่อยอด
โมเดลปลาทู


“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ
๑ . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
๒ . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
๓ . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
Knowledge Vision Knowledge Assets Knowledge Sharing KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
กระบวนการจัดการความรู้
1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
2. แสวงหาความรู้
3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้
4. การสร้างความรู้
5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้
7. การแบ่งความรู้
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้
3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้
4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
CoP(Community of Practice)
ชุมชนนักปฏิบัติ คือ อะไร คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้
- ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน
- มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
- มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น
- วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน
- มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน
- มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้
- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี
-มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
- มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง
- มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม
ทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติ
อุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ไม่พูด ไม่คุย
- ไม่เปิด ไม่รับ
- ไม่ปรับ ไม่เรียน
- ไม่เพียร ไม่ทำ
คลังความรู้ (Knowledge Assets) ประกอบด้วย 3 ส่วน
1.เรื่องเล่าหรือคำพูดที่เร้าใจ + 2. การถอดบทเรียนที่ได้ + 3. แหล่งข้อมูลบุคคลอ้างอิง (Tacit Knowledge) (Explicit Knowledge) (References)
ข้อควรระวังในการทำ KS
- ให้ share "เรื่องเล่า" ไม่ใช่ share "ความคิด"
- เป็น Storytelling ไม่ใช่ Problem-solving ไม่ใช่ Planning
- share แล้วต้อง Learn และ Learn แล้วต้อง Lead (นำ)
...นำสู่การกระทำ
...นำสู่ภาพที่ต้องการ
"ทุกความสำเร็จในองค์กร ย่อมมาจากกลยุทธ์การวางแผน การปฏิบัติ และการจัดการอย่างมืออาชีพ"


การจัดการความรู้
บทบาทใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. ผู้ดูแลทุนมนุษย์ ( Human Capital Steward )
2. ผู้ประสานสัมพันธ์ ( Knowledge Facilitator )
3. ผู้อำนวยความรู้ ( Relationship Bulder )
4. ผู้มีอาชีพที่เฉพาะ ( Raped Deployment Sepecidist )
ความรู้คืออะไร
1. Knowledge Capital เป็นต้นทุน องค์กร ทรัพยากรมนุษย์
2. ความสามารถในการทำให้สารสนเทศ และข้อมูลมาเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพได้
3. ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ และความเชี่ยวชาญ
ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ความเฉลียวฉลาด และเชาว์ปัญญา
ข้อมูล ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
สารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมาย
ความรู้ ผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบความคิด เกิดเป็นความรู้ และความเชี่ยวชาญ
ความเฉลียวฉลาด การนำเอาความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อทำงานในสาขาต่างๆ
เชาว์ปัญญา ผลจากการปรับแต่งและจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไว
รูปแบบของความรู้
ประเภทของความรู้กับการจัดการรู้
ความรู้อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา การจัดการจะเน้นการเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความได้ เมื่อนำไปใช้จะเกิดความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นใช้อ้างอิงต่อไป
ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสม มายาวนาน เป็นภูมิปัญญา การจัดการความรู้แบบนี้ จะเน้นที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้งานต่อไป
ซึ่งในสภาพความเป็นจริง ความรู้ทั้ง 2 ประเภทเหล่านี้ มีการสับเปลี่ยนสภาพกันตลอดเวลา การจัดการความรู้ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความรู้เช่น
โมเดลปลาทู
การจัดการความรู้ในรูปแบบของ “โมเดลปลาทู” ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัวปลา หรือส่วนของเป้าหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Management Vision), ส่วนของตัวปลา หรือส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) และส่วนของหางปลา หรือตัวคลังความรู้ (Knowledge Assets)



กระบวนการจัดการความรู้
1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
2. แสวงหาความรู้
3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้
4. การสร้างความรู้
5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้
7. การแบ่งความรู้
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้
3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้
4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

สร้างระบบสารสนเทศจัดการเรียนรู้
การจัดเก็บความรู้เป็นระบบ
การค้นหาและเรียกใช้ความรู้
การให้ความรู้ร่วมกันและการกระจายความรู้
ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน
COP ย่อมาจาก Community of Practice หมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Assets : KA หรือ ขุมความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ สำหรับคนในชุมชนเพื่อไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้น ๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อย ๆ
COP เป็น 1 ใน เครื่องมือของการจัดการความรู้ (KM Tools) ประเภท Non-Technical Tools สำหรับการดึงความรู้ประเภท Tacit Knowledge หรือ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใน
ลักษณะที่สำคัญของ COP
• กลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีความสนใจและความปรารถนา (Passion) ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (มี Knowledge Domain)
• ปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นชุมชน (community) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
• แลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ร่วมกัน ต้อง Practice และสร้างฐานข้อมูล ความรู้ หรือแนวปฏิบัติ

ประโยชน์ของ COP

ระยะสั้น
• เวทีของการแก้ปัญหา ระดมสมอง
• ได้แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม
• ได้ข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจ
• หาทางออก/คำตอบที่รวดเร็ว
• ลดระยะเวลา และการลงทุน
• เกิดความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
• ช่องทางในการเข้าหาผู้เชียวชาญ
• ความมั่นใจในการเข้าถึงและแก้ปัญหา
• ความผูกพันในกรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
• ความสนุกที่ได้อยู่กับเพื่อนร่วมงาน
• ได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกัน รวมทั้งอาจกำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหา

ระยะยาว
• เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร
• เกิดความสามารถที่ไม่คาดการณ์ไว้
• วิเคราะห์ความแตกต่างและตั้งเป้าหมายการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• แหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
• เกิดโอกาสพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด
• เครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพ
• ชื่อเสียในวิชาชีพเพิ่มขึ้น
• ได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานสูงขึ้น
• รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรได้
• เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร
• ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา

ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของเทคโนโลยีข่าวสาร มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยบริหารจัดการด้านต่างๆในทุกๆที่ ไม่เว้นแม้แต่สถานศึกษา เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คนดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและก้าวทันเทคโนโลยี
ซึ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวมาใช้บริหารจัดการในสถานศึกษา จะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะผลักดันการจัดการศึกษาไปสู่ทิศทางที่ต้องการได้ โรงเรียนเทศบาล วัดชัยชุมพล สังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย มีการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่มีนักเรียน 1,333 คน (ปี พศ.2552 ) ซึ่งนับว่าเป็นสถานศึกษาที่มีบุคลากรมากพอควร แต่ปัจจุบันการบริหารจัดการสารสนเทศยังมีปัญหาหลายอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากร งานทะเบียนรายบุคคลของนักเรียน และการวัดผลประเมินผล ยังใช้การประมวลผลด้วยมือ ไม่มีฐานข้อมูลที่จะอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ทำให้ครู อาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องทำงานที่ซ้ำซ้อน การจัดทำสารสนเทศต่างๆ การออกรายงานหรือผลการเรียน ต้องใช้เวลาในการจัดทำค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้การคำนวณ ทำให้เสี่ยงต่อการผิดพลาด อีกทั้งเมื่อผู้บริหารสถานศึกษาต้องการใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นในการวางแผนบริหารจัดการ พบว่าต้องใช้เวลาในการค้นหาค่อนข้างมาก เพราะข้อมูลยังกระจัดกระจายอยู่หลายส่วนและไม่เป็นปัจจุบัน นอกจากนี้การดูผลการเรียนของนักเรียน ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องบางครั้งยังไม่สะดวกและเกิดความล่าช้าอีกด้วย
จากสภาพความเป็นจริงและปัญหาทั้งหมด ทำเห็นว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาคือ ขาดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยบริหารจัดการ ทำให้ข้อมูลขาดความเป็นปัจจุบัน ครู
และบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีภาระมากอยู่แล้ว ยังต้องมาทำงานที่ซ้ำซ้อน ทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาในภาพรวม
เพื่อให้การดำเนินงานบริหารจัดการสารสนเทศ การวัดผลประเมินผลของนักเรียน รวมทั้งการรับทราบผลการเรียนของนักเรียนมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษาในยุคปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารจัดการ


วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลบุคลากร งานทะเบียนของนักเรียน
การบันทึกผลการเรียน การประเมินผลการเรียน และการรายงานผลการเรียน
ของนักเรียนเป็นระบบอัตโนมัติ
2) เพื่อพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลบุคลากร นักเรียน และการวัดผลประเมินผล
อย่างมีประสิทธิภาพ
3) สร้างข้อมูลสารสนเทศสำหรับผู้บริหารในการบริหารงานในระดับองค์กร
4) สร้างโปรแกรมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการดูรายงานต่างๆ
รวมถึงนักเรียนและผู้ปกครอง สามารถตรวจสอบผลการเรียนผ่านเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ได้
สามารถจัดการข้อมูลต่อไปนี้
ก. การจัดการข้อมูลพื้นฐาน
เป็นการจัดทำระบบที่สามารถบันทึก และจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น
สำหรับการจัดการเรียนการสอน และสามารถปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเหล่านี้ได้ตามความจำเป็น ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานสำหรับบันทึกประวัติส่วนตัว เช่น คำนำหน้าชื่อ สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา หรือข้อมูลพื้นฐานในการวัดผลประเมินผล เช่น เกณฑ์การประเมินผล เกณฑ์การจบช่วงชั้น ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน ฯลฯ
ข. การจัดการข้อมูลบุคลากร
เป็นการจัดทำระบบที่สามารถจัดเก็บข้อมูลประวัติส่วนตัวของครู ให้เพิ่ม ลบ แก้ไขและค้นหาข้อมูลครูได้ โดยจะทราบได้ว่าครูคนใดประจำชั้นห้องใดหรือสอนวิชาอะไรในแต่ละปีการศึกษา
ค. การจัดการข้อมูลนักเรียน
เป็นการจัดทำระบบที่สามารถจัดเก็บข้อมูลประวัติของนักเรียน ให้เพิ่ม ลบ แก้ไข หรือค้นหาข้อมูลนักเรียนในแต่ละห้องเรียนตามปีการศึกษาต่างๆได้
ง. การจัดการวิชาเรียน ประกอบด้วย
1) การจัดทำระบบที่สามารถจัดเก็บข้อมูลวิชาเรียน ให้สามารถเพิ่ม
ลบ แก้ไข หรือค้นหาวิชาเรียนทั้งหมดได้
2) จัดทำระบบที่สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข หรือค้นหาวิชาที่เปิดสอนใน
แต่ละปีการศึกษาได้
3) จัดทำระบบที่สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข หรือค้นหาครูผู้สอนประจำ
วิชาในแต่ละปีการศึกษาได้
จ. การจัดการผู้ใช้งานระบบ
ระบบมีการแบ่งระดับการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้ต่างๆในการเข้าถึงข้อมูลที่ต่างกันคือ ผู้ดูแลระบบ เจ้าหน้าที่ทะเบียนและวัดผล ครูประจำชั้น ครูผู้สอน ผู้บริหาร นักเรียนและผู้ปกครอง

การจัดการผลการเรียน มีขอบเขตดังนี้
ก. จัดทำระบบที่สามารถบันทึกผลการเรียนแต่ละรายวิชาหรือรายคนผ่านทาง
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ และส่งผลการเรียนของนักเรียนโดยอัตโนมัติ
ข. ระบบมีการแบ่งระดับการเข้าถึงการจัดการผลการเรียน โดยกลุ่มผู้ใช้ใน
ระดับต่างๆเช่น ครูผู้สอนสามารถบันทึกผลการเรียนเฉพาะรายวิชาที่สอน
ครูประจำชั้นสามารถตรวจสอบผลการเรียนของนักเรียน เฉพาะนักเรียน
ในห้องที่ประจำชั้น ส่วนเจ้าหน้าที่ทะเบียนและวัดผลสามารถบันทึก
ผลการเรียน ทั้งรายวิชาและรายคนทุกชั้นเรียน
ค. นักเรียนและผู้ปกครองสามารถตรวจสอบผลการเรียน ผ่านทางเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ได้

การสร้างรายงาน มีขอบเขตดังนี้
ก. สามารถสร้างรายงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลครู ข้อมูลนักเรียน หรือข้อมูล
วิชาเรียนที่เป็นปัจจุบันเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการศึกษา หรือด้านอื่นๆ
ที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน
ข. สามารถสร้างรายงานผลการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
รายชั้นเรียนหรือแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ครูและผู้บริหารนำ
ไปใช้ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาได้
ค. สามารถพิมพ์เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล ตามหลักสูตร
การศึกษาเช่นระเบียนแสดงผลการเรียน และใบรับรองผลการศึกษา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สถานศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการบริหารจัดการได้
2. อำนวยความสะดวกแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการประเมินผลการเรียน การบันทึก
ผลการเรียน และการรายงานผลการเรียน

3. อำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการตรวจสอบ
ผลการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
4. ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการบริหารได้อย่างสะดวก
รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ
5. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสถานศึกษา และสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษา
ผลที่ได้รับเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
1. ระบบสารสนเทศที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนและวัดผล ใช้ในการจัดการงานทะเบียน
และวัดผล
2. ระบบสารสนเทศที่ใช้จัดการและการประมวลผลการเรียนของนักเรียน ในระดับ
ประถมศึกษา
3. ระบบสารสนเทศสำหรับครูผู้สอน ครูประจำชั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนและวัดผล
เพื่อใช้บริหารจัดการเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศส่วนตัวและผลการเรียนของนักเรียน
4. ระบบสารสนเทศสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง ในการตรวจสอบผลการเรียนผ่าน
ทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5. แบบฟอร์มในการสร้างรายงานต่างๆที่เกี่ยวกับข้อมูลครู ข้อมูลนักเรียน ข้อมูล
วิชาเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับครู เจ้าหน้าที่ทะเบียนวัดผล และ
ผู้บริหาร รวมทั้งสร้างเอกสารการจบการศึกษาของนักเรียนได้















สถาปัตยกรรมของระบบจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพล

ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางการศึกษา

งานครั้งที่ 
นายการุญ ปัญจะสุวรรณ์
รหัส 5246701070
ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

อธิบายความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและสารสนเทศ

1. การจัดการ หมายถึง ชุดของหน้าที่ต่าง ๆ ที่กำหนดทิศทางในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) หมายถึง การใช้ทรัพยากรอย่างเฉลียวฉลาด และคุ้มค่า ส่วนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective) หมายถึงการตัดสินใจอย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติการได้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผลสำเร็จของการจัดการต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลควบคู่กันไป
การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)
2. นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
3. เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
4. ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล สิ่งของสถานที่ ฯลฯ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องข้อมูลต้องถูกต้องแม่นยำครบถ้วนขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล
5. สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ
6. ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์
มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมูลนั้นกลายเป็น
สารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
และถูกต้อง
7. ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศ ช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
8. การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
9. เครือข่าย หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ
10. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์ หรือประมวลผลการรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้ใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้ มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งมีสายและไร้สาย
11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสารสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการสื่อสารนั้น จะมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของใช้งาน เช่น บางครั้งอาจจะใช้เทคโนโลยีดาวเทียม เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบ e-Learning หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีความจำเป็นในการพัฒนาการศึกษา

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552