วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปเนื้อหาการเรียนวิชานวัตกรรมและสารสนเทศครั้งที่ 3-การุญ ปัญจะสุวรรณ์

สรุปองค์ความรู้ สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552
นายการุญ ปัญจะสุวรรณ์
รหัส 5246701070
ป.บัณฑิต การบริหารการศึกษา ภาคเรียนที่ 2/2552
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

บทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์
การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้เน้นหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของกระบวนวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล (Impact of People Management Practice) และความทุ่มเทพยายามของคนต่อความสำเร็จขององค์กร มืออาชีพหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลหมดความสำคัญ และอาจจะไม่จำเป็นต้องทำไป แต่อย่างไรหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่ต้องทำอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และต้องมีการปรับบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป


ข้อมูล DATA
- ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล
- กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
สารสนเทศ (Information )
- ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
- ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมายความรู้ (Knowledge)
ผลการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบ สร้างเป็นองค์ความรู้ความเฉลียวฉลาด (Wisdom)
การนำเอาความรู้ต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่างๆเชาว์ปัญญา (Intelligent) ผลการปรับแต่งและความจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไว
รูปแบบการจัดการความรู้ ความรู้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ
- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ
วิธีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
KM ไม่ทำไม่รู้ เรียนลัดและต่อยอด
โมเดลปลาทู


“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ
๑ . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
๒ . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
๓ . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
Knowledge Vision Knowledge Assets Knowledge Sharing KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ ทำ KM ไปเพื่ออะไร”
กระบวนการจัดการความรู้
1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
2. แสวงหาความรู้
3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้
4. การสร้างความรู้
5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้
7. การแบ่งความรู้
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้
3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้
4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
CoP(Community of Practice)
ชุมชนนักปฏิบัติ คือ อะไร คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้
- ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน
- มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
- มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น
- วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน
- มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน
- มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้
- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี
-มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
- มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง
- มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม
ทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติ
อุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ไม่พูด ไม่คุย
- ไม่เปิด ไม่รับ
- ไม่ปรับ ไม่เรียน
- ไม่เพียร ไม่ทำ
คลังความรู้ (Knowledge Assets) ประกอบด้วย 3 ส่วน
1.เรื่องเล่าหรือคำพูดที่เร้าใจ + 2. การถอดบทเรียนที่ได้ + 3. แหล่งข้อมูลบุคคลอ้างอิง (Tacit Knowledge) (Explicit Knowledge) (References)
ข้อควรระวังในการทำ KS
- ให้ share "เรื่องเล่า" ไม่ใช่ share "ความคิด"
- เป็น Storytelling ไม่ใช่ Problem-solving ไม่ใช่ Planning
- share แล้วต้อง Learn และ Learn แล้วต้อง Lead (นำ)
...นำสู่การกระทำ
...นำสู่ภาพที่ต้องการ
"ทุกความสำเร็จในองค์กร ย่อมมาจากกลยุทธ์การวางแผน การปฏิบัติ และการจัดการอย่างมืออาชีพ"


การจัดการความรู้
บทบาทใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. ผู้ดูแลทุนมนุษย์ ( Human Capital Steward )
2. ผู้ประสานสัมพันธ์ ( Knowledge Facilitator )
3. ผู้อำนวยความรู้ ( Relationship Bulder )
4. ผู้มีอาชีพที่เฉพาะ ( Raped Deployment Sepecidist )
ความรู้คืออะไร
1. Knowledge Capital เป็นต้นทุน องค์กร ทรัพยากรมนุษย์
2. ความสามารถในการทำให้สารสนเทศ และข้อมูลมาเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพได้
3. ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ และความเชี่ยวชาญ
ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ความเฉลียวฉลาด และเชาว์ปัญญา
ข้อมูล ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
สารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมาย
ความรู้ ผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบความคิด เกิดเป็นความรู้ และความเชี่ยวชาญ
ความเฉลียวฉลาด การนำเอาความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อทำงานในสาขาต่างๆ
เชาว์ปัญญา ผลจากการปรับแต่งและจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไว
รูปแบบของความรู้
ประเภทของความรู้กับการจัดการรู้
ความรู้อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา การจัดการจะเน้นการเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความได้ เมื่อนำไปใช้จะเกิดความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นใช้อ้างอิงต่อไป
ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสม มายาวนาน เป็นภูมิปัญญา การจัดการความรู้แบบนี้ จะเน้นที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้งานต่อไป
ซึ่งในสภาพความเป็นจริง ความรู้ทั้ง 2 ประเภทเหล่านี้ มีการสับเปลี่ยนสภาพกันตลอดเวลา การจัดการความรู้ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความรู้เช่น
โมเดลปลาทู
การจัดการความรู้ในรูปแบบของ “โมเดลปลาทู” ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัวปลา หรือส่วนของเป้าหมายของการจัดการความรู้ (Knowledge Management Vision), ส่วนของตัวปลา หรือส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) และส่วนของหางปลา หรือตัวคลังความรู้ (Knowledge Assets)



กระบวนการจัดการความรู้
1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
2. แสวงหาความรู้
3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้
4. การสร้างความรู้
5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้
7. การแบ่งความรู้
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
1. การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
2. การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้
3. การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้
4. การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

สร้างระบบสารสนเทศจัดการเรียนรู้
การจัดเก็บความรู้เป็นระบบ
การค้นหาและเรียกใช้ความรู้
การให้ความรู้ร่วมกันและการกระจายความรู้
ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน
COP ย่อมาจาก Community of Practice หมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Assets : KA หรือ ขุมความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ สำหรับคนในชุมชนเพื่อไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้น ๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อย ๆ
COP เป็น 1 ใน เครื่องมือของการจัดการความรู้ (KM Tools) ประเภท Non-Technical Tools สำหรับการดึงความรู้ประเภท Tacit Knowledge หรือ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใน
ลักษณะที่สำคัญของ COP
• กลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีความสนใจและความปรารถนา (Passion) ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (มี Knowledge Domain)
• ปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นชุมชน (community) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
• แลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ร่วมกัน ต้อง Practice และสร้างฐานข้อมูล ความรู้ หรือแนวปฏิบัติ

ประโยชน์ของ COP

ระยะสั้น
• เวทีของการแก้ปัญหา ระดมสมอง
• ได้แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม
• ได้ข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจ
• หาทางออก/คำตอบที่รวดเร็ว
• ลดระยะเวลา และการลงทุน
• เกิดความร่วมมือ และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
• ช่องทางในการเข้าหาผู้เชียวชาญ
• ความมั่นใจในการเข้าถึงและแก้ปัญหา
• ความผูกพันในกรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
• ความสนุกที่ได้อยู่กับเพื่อนร่วมงาน
• ได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกัน รวมทั้งอาจกำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหา

ระยะยาว
• เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร
• เกิดความสามารถที่ไม่คาดการณ์ไว้
• วิเคราะห์ความแตกต่างและตั้งเป้าหมายการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• แหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
• เกิดโอกาสพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด
• เครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพ
• ชื่อเสียในวิชาชีพเพิ่มขึ้น
• ได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานสูงขึ้น
• รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรได้
• เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร
• ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น